(หันทะ มะยัง ธัมมะปะริยายะคาถาโย ภะณามะ เส)
สัพเพ สัตตา มะริสสันติ มะระณันตัง หิ ชีวิตัง
สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักต้องตาย, เพราะชีวิตนี้มีความตายเป็นที่สุดรอบ
ชะรังปิ ปัตวา มะระณัง เอวัง ธัมมา หิ ปาณิโณ
แม้จะอยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย, เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอย่างนี้ตามธรรมดา
ยะมะกัง นามะรูปัญจะ อุโภ อัญโญญะนิสสิตา
ก็นามและรูปคือกายกับใจ, ย่อมอาศัยกันอยู่เป็นของคู่กัน
เอกัสมิง ภิชชะมานัสมิง อุโภ ภิชชันติ ปัจจะยาติ
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแตกสลาย, ทั้งสองฝ่ายก็สลายไปด้วยกัน
ยะถาปิ อัญญะตะรัง พีชัง เขตเต วุตตัง วิรูหะติ
เปรียบเหมือนพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง, ที่หว่านลงแล้ว ในพื้นแผ่นดินย่อมงอกขึ้นได้
ปะฐะวีระสัญจะ อาคัมมะ สิเนหัญจะ ตะทูภะยัง
เพราะอาศัยรสแห่งแผ่นดิน, และเชื้อในยางแห่งพืชนั้นๆ
เอวัง ขันธา จะ ธาตุโย ฉะ จะ อายะตะนา อิเม
ขันธ์ทั้ง ๕ และธาตุทั้งหลาย, พร้อมทั้งอายตนะทั้ง ๖ นี้ก็เหมือนกัน
เหตุง ปะฏิจจะ สัมภูตา เหตุภังคา นิรุชฌะเร
อาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้, เมื่อเหตุนั้นแตกสลายก็ย่อมดับไป
ยะถา หิ อังคะสัมภารา โหติ สัทโท ระโถ อิติ
เปรียบเหมือนการประกอบชิ้นส่วนของรถเข้าด้วยกัน, คำเรียกว่ารถก็มีขึ้นได้
เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ โหติ สัตโตติ สัมมะติ
เมื่อขันธ์ทั้ง๕ ยังมีอยู่ก็เหมือนกัน, คำสมมติว่าคนและสัตว์ก็มีขึ้นได้
อุโภ ปุญญัญจะ ปาปัญจะ ยัง มัจโจ กุรุเต อิธะ
เมื่อผู้ที่ตายไป, ทำบุญและบาปใดๆ ในโลกนี้แล้ว
ตัญหิ ตัสสะ สะกัง โหติ ตัญจะ อาทายะ คัจฉะติ
บุญและบาปนั้นแล, ย่อมเป็นของๆ เขาผู้นั้นโดยแท้, เขาย่อมได้รับบุญและบาปนั้นแน่นอน
ตัญจัสสะ อะนุคัง โหติ ฉายาวะ อะนุปายินี
บุญและบาปนั้นย่อมติดตามเขาไป, เหมือนเงาตามตัวเขาไปฉะนั้น
สัทธายะ สีเลนะ จะ โย ปะวัฑฒะติ
ผู้ใดเจริญด้วยศีลและมีศรัทธา
ปัญญายะ จาเคนะ สุเตนะ จูภะยัง
เป็นผู้มีปัญญา, สดับศึกษาในการเสียสละ
โส ตาทิโส สัปปุริโส วิจักขะโน
บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ, เป็นผู้เฉียบแหลมเช่นนั้น
อาทียะติ สาระมิทเธวะ อัตตะโน
ย่อมเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตน, ในโลกนี้ไว้ได้โดยแท้
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ, ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น,ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย
เอวัมภูเตสุเปยเตสุ สาธุ ตัตถาชฌุเปกขะนา
เมื่อสังขารเหล่านั้นต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน, การวางเฉยในสังขารเสียได้ย่อมเป็นการดี
อะปิ เตสัง นิโรธายะ ปะฏิปัตตยาติสาธุกา
อนึ่ง การปฏิบัติเพื่อดับสังขารเสียได้, ยิ่งเป็นการดี
สัพพัง สัมปาทะนียัญหิ อัปปะมาเทนะ สัพพะทาติ
กิจทั้งสิ้นนี้จะพึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้, ด้วยความไม่ประมาททุกเมื่อเท่านั้นแล, ดังนี้