วิมุตติ ในทางธรรมะนั้นหมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลส หรือ ความหลุดพ้น อันเป็นจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย เจโตวิมุตติ (การหลุดพ้นแห่งจิต) และ ปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยปัญญา)

ความหลุดพ้นจากกิเลส ประกอบด้วย 5 อย่าง คือ (อ้างอิง)

  1. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว เช่น โทสะพ้นได้ด้วยการเจริญเมตตา อันเป็นธรรมคู่ปรับ, เกิดความสังเวช จึงพ้นจากความกำหนัด เป็นต้น
  2. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้ เช่น การพ้นหรือสะกดได้ด้วยอำนาจของฌาน อรูปฌาน, ยังเป็นโลกิยวิมุตติ กลับกลายหายสูญได้
  3. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด ได้แก่ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดขึ้นอีก, เป็นโลกุตตรวิมุตติ
  4. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยสงบระงับ ได้แก่ การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอริยผล เป็นการหลุดพ้นที่ยั่งยืน ไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว เป็นโลกุตตรวิมุตติ
  5. นิสฺสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยออกไปเสีย หรือสลัดออกได้ เป็นการพ้นที่ยั่งยืนตลอดไป เป็นโลกุตตรวิมุตติ

เว็บไซต์วิมุตตินี้ เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมบทสวดมนต์และพระคาถาต่างๆที่น่าสนใจ สามารถนำไปสวดได้ในงานต่างๆหรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน โดยจะเน้นที่มีการแปลให้อ่านความหมายของแต่ละบทสวดนั้น เพื่อให้ผู้สวดเข้าใจความหมายของบทสวดต่างๆ อันจะทำให้เกิดปัญญา นำไปสู่การหลุดพ้นสมดังจุดมุ่งหมาย.

เว็บไซต์นี้ ไม่ได้เป็นของวัดหรือสำนักใดสำนักหนึ่ง, ไม่มีนโยบายในการนำเสนอเนื้อหาที่ข้องเกี่ยวกับการเมือง หรือสร้างความขัดแย้งระหว่างศาสนา, ไม่มีนโยบายในการหารายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม.

เว็บไซต์วิมุตติ ใช้ทรัพยากรภายนอกต่างๆที่มิได้สร้างขึ้นมาเอง แต่นำมาใช้โดยได้รับการอนุญาตที่ถูกต้องตามกฎหมายดังรายการต่อไปนี้:

  • ชุดภาษา CSS สำเร็จรูปโดย Bootstrap
  • ชุดไอคอนต่างๆโดย Font Awesome
  • ระบบภาพวีดีโอโดย YouTube