(หันทะ มะยัง อาฏานาฏิยะปะริตตัง ภะณามะ เส.)

วิปัสสิสสะ นะมัตถุ

ความนอบน้อมจงมี แด่พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า

จักขุมันตัสสะ สิรีมะโต

ผู้ทรงมีปัญญาจักษุ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ

สิขิสสะปิ นะมัตถุ

ความนอบน้อมจงมี แด่พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า

สัพพะภูตานุกัมปิโน

ผู้ทรงมีพระทัยเอ็นดู ต่อสัตว์ทั้งปวง

เวสสะภุสสะ นะมัตถุ

ความนอบน้อมจงมี แด่พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า

นะหาตะกัสสะ ตะปัสสิโน

ผู้ทรงมีกิเลสอันชำระแล้ว ผู้ทรงมีตบะธรรม

นะมัตถุ กะกุสันธัสสะ

ความนอบน้อมจงมี แด่พระกกุสันธะสัมมาสัมพุทธเจ้า

มาระเสนัปปะมัททิโน

ผู้ทรงย่ำยีเสียได้ ซึ่งมารและเหล่าเสนาทั้งหลาย

โกนาคะมะนัสสะ นะมัตถุ

ความนอบน้อมจงมี แด่พระโกนาคมนะสัมมาสัมพุทธเจ้า

พราห์มะณัสสะ วุสีมะโต

ผู้ทรงลอยบาปเสียได้ ผู้ทรงอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

กัสสะปัสสะ นะมัตถุ

ความนอบน้อมจงมี แด่พระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า

วิปปะมุตตัสสะ สัพพะธิ

ผู้ทรงพ้นแล้วจากกิเลสทั้งปวง

อังคีระสัสสะ นะมัตถุ

ความนอบน้อมจงมี แด่พระอังคีรสะสัมมาสัมพุทธเจ้า

สักยะปุตตัสสะ สิรีมะโต

ผู้ทรงเป็นโอรสแห่งศากยราช ผู้ทรงไว้ซึ่งพระสิริ

โย อิมัง ธัมมะมะเทเสสิ

ซึ่งได้ทรงแสดงธรรมนี้ไว้

สัพพะทุกขาปะนูทะนัง

อันเป็นเครื่องบรรเทาเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง

เย จาปิ นิพพุตา โลเก ยะถาภูตัง วิปัสสิสุง

อนึ่ง แม้ชนเหล่าใดในโลก เห็นแจ้งธรรมตามความเป็นจริง ดับกิเลสได้แล้ว

เต ชะนา อะปิสุณา มะหันตา วีตะสาระทา

ชนเหล่านั้น ไม่มีความส่อเสียด เป็นผู้ใหญ่โดยคุณธรรม ปราศจากความครั่นคร้ามแล้ว

หิตัง เทวะมะนุสสานัง ยัง นะมัสสันติ โคตะมัง

พากันนอบน้อมอยู่ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร ผู้ทรงเกื้อกูล แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

วิชชาจะระณะสัมปันนัง

ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วยวิชชาและจรณะ

มะหันตัง วีตะสาระทัง

ผู้ทรงถึงความเป็นใหญ่ ปราศจากความครั่นคร้ามใด ๆ แล้ว

วิชชาจะระณะสัมปันนัง พุทธัง วันทามะ โคตะมันติ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนมัสการ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงเป็นโคตมโคตร ผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ ดังนี้

นะโม เม สัพพะพุทธานัง

ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระพุทธเจ้าทั้งปวง

อุปปันนานัง มะเหสินัง

ผู้ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ ซึ่งทรงบังเกิดขึ้นแล้ว

ตัณหังกะโร มะหาวีโร

คือพระตัณหังกร ผู้ทรงกล้าหาญ

เมธังกะโร มะหายะโส

พระเมธังกร ผู้ทรงมียศใหญ่

สะระณังกะโร โลกะหิโต

พระสรณังกร ผู้ทรงเกื้อกูลแก่โลก

ทีปังกะโร ชุตินธะโร

พระทีปังกร ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา

โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข

พระโกณฑัญญะ ผู้ทรงเป็นประมุขแห่งหมู่ชน

มังคะโล ปุริสาสะโภ

พระมังคะละ ผู้ทรงเป็นบุรุษประเสริฐ

สุมะโน สุมะโน ธีโร

พระสุมนะ ผู้ทรงเป็นปราชญ์ มีพระหฤทัยงดงาม

เรวะโต ระติวัฑฒะโน

พระเรวตะ ผู้ทรงเพิ่มพูนความยินดี

โสภีโต คุณะสัมปันโน

พระโสภิตะ ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระคุณ

อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม

พระอโนมะทัสสี ผู้ทรงอุดมในหมู่ชน

ปะทุโม โลกะปัชโชโต

พระปทุมะ ผู้ทรงทำโลกให้สว่าง

นาระโท วะระสาระถี

พระนารทะ ผู้ทรงเป็นสารถีผู้ประเสริฐ

ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร

พระปทุมุตตระ ผู้ทรงเป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์

สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล

พระสุเมธะ ผู้ทรงหาบุคคลเปรียบมิได้

สุชาโต สัพพะโลกัคโค

พระสุชาตะ ผู้ทรงเลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง

ปิยะทัสสี นะราสะโภ

พระปิยทัสสี ผู้ทรงเป็นนรชนประเสริฐ

อัตถะทัสสี การุณิโก

พระอัตถะทัสสี ผู้ทรงมีพระกรุณา

ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท

พระธรรมะทัสสี ผู้ทรงบรรเทาความมืดคืออวิชชา

สิทธัตโถ อะสะโม โลเก

พระสิทธัตถะ ผู้ทรงหาบุคคลเสมอมิได้ ในโลก

ติสโส จะ วะทะตัง วะโร

พระติสสะ ผู้ทรงประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ

พระปุสสะพุทธเจ้า ผู้ทรงประทานธรรมอันประเสริฐ

วิปัสสี จะ อะนูปะโม

พระวิปัสสี ผู้ทรงหาที่เปรียบมิได้

สิขี สัพพะหิโต สัตถา

พระสิขี ผู้ทรงเป็นพระศาสดา เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย

เวสสะภู สุขะทายะโก

พระเวสสภู ผู้ทรงประทานความสุข

กะกุสันโธ สัตถะวาโห

พระกกุสันธะ ผู้ทรงนำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส

โกนาคะมะโน ระณัญชะโห

พระโกนาคมนะ ผู้ทรงกำจัดเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส

กัสสะโป สิริสัมปันโน

พระกัสสปะ ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยพระสิริ

โคตะโม สักยะปุงคะโว

พระโคตมะ ผู้ทรงประเสริฐแห่งหมู่ศากยราชทั้งหลาย

เอเต จัญเญ จะ สัมพุทธา

พระสัมพุทธเจ้าเหล่านี้ก็ดี เหล่าอื่นก็ดี

อะเนกะสะตะโกฏะโย

ซึ่งนับจำนวนได้หลายร้อยโกฏิ

สัพเพ พุทธา อะสะมะสะมา

พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้ทรงเสมอกันกับพระพุทธเจ้า ผู้ทรงหาใครเสมอมิได้

สัพเพ พุทธา มะหิทธิกา

พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ทรงมีมหิทธิฤทธิ์

สัพเพ ทะสะพะลูเปตา

ทุก ๆ พระองค์ ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ

เวสารัชเชหุปาคะตา

ทรงประกอบด้วยเวสารัชชญาณ

สัพเพ เต ปะฏิชานันติ อาสะภัณฐานะมุตตะมัง

ทุก ๆ พระองค์นั้น ทรงปฏิญญาพระองค์ ในฐานะผู้มีคุณธรรมอันสูงสุด

สีหะนาทัง นะทันเต เต ปะริสาสุ วิสาระทา

ทรงเป็นผู้องอาจ บันลือกระแสธรรมดุจสีหนาท ท่ามกลางพุทธบริษัท

พรัหมะจักกัง ปะวัตเตนติ

ยังพรหมจักรให้เป็นไป

โลเก อัปปะฏิวัตติยัง

ไม่มีใครคัดค้านได้ในโลก

อุเปตา พุทธะธัมเมหิ อัฏฐาระสะหิ นายะกา

ทรงเป็นผู้นำหมู่ชน เพราะประกอบด้วยพุทธธรรม ๑๘ ประการ

ทวัตติงสะลักขะณูเปตา สีตยานุพยัญชะนาธะรา

ทรงประกอบด้วยมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ

พยามัปปะภายะ สุปปะภา

ทรงมีพระรัศมีอันงดงาม แผ่ออกจากพระวรกายโดยรอบ ข้างละวา

สัพเพ เต มุนิกุญชะรา

ทุก ๆ พระองค์ ทรงเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐ

พุทธา สัพพัญญุโน เอเต สัพเพ ขีณาสะวา ชินา

ทุก ๆ พระองค์ ทรงเป็นพระสัพพัญญู เป็นพระขีณาสพ เป็นผู้ชำนะซึ่งพญามาร

มะหัปปะภา มะหาเตชา

ทรงมีพระรัศมี และพระเดชมาก

มะหาปัญญา มะหัพพะลา

ทรงมีพระปัญญา และพระกำลังมาก

มะหาการุณิกา ธีรา

ทรงมีพระมหากรุณา และทรงเป็นจอมปราชญ์

สัพเพสานัง สุขาวะหา

ทรงนำความสุขมาให้ แก่สัตว์ทั้งปวง

ที่ปา นาถา ปะติฏฐา จะ

ทรงเป็นดุจเกาะ เป็นดุจที่พึ่ง และเป็นดุจที่พำนักอาศัย

ตาณา เลณา จะ ปาณินัง

ทรงเป็นดุจที่ต้านทาน ซึ่งภัยทั้งปวง เป็นดุจที่หลีกเร้นของสัตว์ทั้งหลาย

คะตี พันธู มะหัสสาสา

ทรงเป็นที่ส่งใจถึง ทรงเป็นพวกพ้อง ทรงเป็นที่อุ่นใจอย่างยิ่ง

สะระณา จะ หิเตสิโน

ทรงเป็นสรณะ และเป็นผู้ทรงแสวงสิ่งเอื้อเกื้อกูล

สะเทวะกัสสะ โลกัสสะ สัพเพ เอเต ปะรายะนา

ทุก ๆ พระองค์ ทรงเป็นที่มุ่งหวังแม้ในเบื้องหน้าแก่ประชาชาวโลก พร้อมทั้งเทวดา

เตสาหัง สิระสา ปาเท วันทามิ ปุริสุตตะเม

ข้าพระพุทธองค์ ขออภิวาทพระบาทยุคล ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยเศียรเกล้า

วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต

และขออภิวาท ซึ่งพระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นผู้ทรงเป็นอุดมบุรุษ พร้อมทั้งวาจา และทางใจด้วย

สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา

ทั้งในที่นอน ในที่นั่ง ในที่ยืน แม้ในที่เดินด้วย ในกาลทุกเมื่อ

สะทา สุเขนะ รักขันตุ พุทธา สันติกะรา ตุวัง

ขอพระพุทธเจ้า ผู้ทรงสร้างสันติ จงรักษาท่านให้มีความสุขตลอดกาลทุกเมื่อเถิด

เตหิ ตวัง รักขิโต สันโต

ท่านเป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรักษาแล้ว

มุตโต สัพพะภะเยนะ จะ

จงเป็นผู้พ้นจากภัยทั้งปวง

สัพพะโรคะวินิมุตโต

พ้นจากโรคทั้งปวง

สัพพะสันตาปะวัชชิโต

หายจากความเดือดร้อนทั้งปวง

สัพพะเวระมะติกกันโต

ล่วงเสียซึ่งเวรทั้งปวง

นิพพุโต จะ ตุวัง ภะวะ

และดับทุกข์ทั้งปวงได้เถิด

เตสัง สัจเจนะ สีเลนะ ขันติเมตตาพะเลนะ จะ

ด้วยสัจจะ ด้วยศีล และด้วยกำลังแห่งขันติ และเมตตาของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ

ขอพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย

อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

ปุรัตถิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ ภูตา มะหิทธิกา

เหล่าภูตทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศบูรพา

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ

แม้ภูตเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย

อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

ทักขิณัสมิง ทิสาภาเค สันติ เทวา มะหิทธิกา

เทวดาทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศทักษิณ

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ

แม้เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย

อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

ปัจฉิมัสมิง ทิสาภาเค สันติ นาคา มะหิทธิกา

พญานาคทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศปัจฉิม

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ

แม้พญานาคเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย

อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

อุตตะรัสมิง ทิสาภาเค สันติ ยักขา มะหิทธิกา

ยักษ์ทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในทิศอุดร

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ

แม้ยักษ์เหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย

อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

ปุริมะทิสัง ธะตะรัฏโฐ

ท้าวธะตะรัฐ อยู่ประจำทิศบูรพา

ทักขิเณนะ วิรุฬหะโก

ท้าววิรุฬหก อยู่ประจำทิศทักษิณ

ปัจฉิเมนะ วิรูปักโข

ท้าววิรูปักข์ อยู่ประจำทิศปัจฉิม

กุเวโร อุตตะรัง ทิสัง

ท้าวกุเวร อยู่ประจำทิศอุดร

จัตตาโร เต มะหาราชา

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น

โลกะปาลา ยะสัสสิโน

เป็นผู้มียศ คุ้มครองรักษาโลกอยู่

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ

แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย

อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน

อากาสัฏฐา จะ ภุมมัฏฐา เทวา นาคา มะหิทธิกา

เทวดาผู้ประเสริฐทั้งหลาย ผู้มีฤทธิ์มาก ที่สถิตอยู่ในอากาศก็ดี สถิตอยู่บนภาคพื้นก็ดี

เตปิ ตุมเห อะนุรักขันตุ

แม้เทวดาเหล่านั้น จงตามรักษาซึ่งท่านทั้งหลาย

อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ

ให้เป็นผู้มีความสุข ปราศจากโรคภัยเบียดเบียนเทอญ.

อาฏานาฏิยปริต, อาฏานาฏิยปริตร, อาฏานาฏิยะปะริตตัง คือบทสวดมนต์เดียวกัน.
เล่น/หยุด