อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจังฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลความเป็นจริง แห่งอริยสัจ คือ ทุกข์

ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง,

ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาฯ

โดยย่อแล้ว อุปาทานในขันธ์ ๕ เป็นเหตุแห่งทุกข์.

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจังฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดอย่างแท้จริง

ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภินันทินีฯ

คือ ความทะยานอยากนี้ใด ทำให้มีภพ มีการเกิดอีก เป็นไปตามความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ

เสยยะถีทังฯ

ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

กามตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหาฯ

ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ ความทะยานอยากในความมีความเป็น ความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยสัจจัง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริง

โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโยฯ

คือ ความดับโดยสิ้นกำหนัดความอยาก โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นเทียวอันใด ความสละแห่งตัณหา ความวางตัณหา ความปล่อยตัณหา ความไม่พัวพันแห่งตัณหา.

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจังฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อย่างแท้จริง

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐิงคิโก มัคโคฯ เสยยะถีทังฯ

คือทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้เอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว, สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ

ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ

เล่น/หยุด