เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ, มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ ซึ่งเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง นั้นเป็นไฉน ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทังฯ

ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง. ได้แก่ธรรมเหล่านี้ กล่าวคือ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว, สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ

ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

ทำดวงตา ทำญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

เล่น/หยุด