(หันทะ มะยังธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)

เทวเม ภิกขะเว อันตา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างเหล่านี้, มีอยู่

ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา

เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค

นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย

หีโน

เป็นของต่ำทราม

คัมโม

เป็นของชาวบ้าน

โปถุชชะนิโก

เป็นของคนชั้นปุถุชน

อะนะริโย

ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า

อะนัตถะสัญหิโต

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย, นี้อย่างหนึ่ง

โย จายัง อัตตะกิละมะถานะโยโค

อีกอย่างหนึ่งคือการประกอบการทรมานตนให้ลำบาก

ทุกโข

เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์

อะนะริโย

ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า

อะนัตถสัญหิโต

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง, ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างนั้น, มีอยู่

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว

จักขุกะระณี

เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ

ญาณะกะระณี

เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ

อุปะสะมายะ

เพื่อความสงบ

อะภิญญายะ

เพื่อความรู้ยิ่ง

สัมโพธายะ

เพื่อความรู้พร้อม

นิพพานายะ สังวัตตะติ

เป็นไปเพื่อนิพพาน

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้นเป็นอย่างไรเล่า

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค

ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น, คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ, ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้เอง

เสยยะถีทัง

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

สัมมาทิฏฐิ

ความเห็นชอบ

สัมมาสังกัปโป

ความดำริชอบ

สัมมาวาจา

การพูดจาชอบ

สัมมากัมมันโต

การทำการงานชอบ

สัมมาอาชีโว

การเลี้ยงชีวิตชอบ

สัมมาวายาโม

ความพากเพียรชอบ

สัมมาสะติ

ความระลึกชอบ

สัมมาสะมาธิ

ความตั้งใจมั่นชอบ

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, นี้แลคือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง

ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา

เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว

จักขุกะระณี

เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ

ญาณะกะระณี

เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ

อุปะสะมายะ

เพื่อความสงบ

อะภิญญายะ

เพื่อความรู้ยิ่ง

สัมโพธายะ

เพื่อความรู้พร้อม

นิพพานายะ สังวัตตะติ

เป็นไปเพื่อนิพพาน

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือทุกข์นี้, มีอยู่

ชาติปิ ทุกขา

คือความเกิดก็เป็นทุกข์

ชะราปิ ทุกขา

ความแก่ก็เป็นทุกข์

มะระณัมปิ ทุกขัง

ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา

ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข

ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์

ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์

สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา

ว่าโดยย่ออุปาทานขันธ์ทั้งห้าเป็นตัวทุกข์

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นี้, มีอยู่

ยายัง ตัณหา

นี้คือตัณหา

โปโนพภะวิกา

อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก

นันทิราคะสะหะคะตา

อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน

ตัตระตัตราภินันทินี

เป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ

เสยยะถีทัง

ได้แก่ตัณหาเหล่านี้คือ

กามะตัณหา

ตัณหาในกาม

ภะวะตัณหา

ตัณหาในความมีความเป็น

วิภะวะตัณหา

ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้, มีอยู่

โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ

นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง

จาโค

เป็นความสลัดทิ้ง

ปะฏินิสสัคโค

เป็นความสละคืน

มุตติ

เป็นความปล่อย

อะนาละโย

เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำให้สัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้, มีอยู่

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค

นี้คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ, ประกอบด้วยองค์แปดประการ

เสยยะถีทัง

ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ

สัมมาทิฏฐิ

ความเห็นชอบ

สัมมาสังกัปโป

ความดำริชอบ

สัมมาวาจา

การพูดจาชอบ

สัมมากัมมันโต

การทำการงานชอบ

สัมมาอาชีโว

การเลี้ยงชีวิตชอบ

สัมมาวายาโม

ความพากเพียรชอบ

สัมมาสะติ

ความระลึกชอบ

สัมมาสะมาธิ

ความตั้งใจมั่นชอบ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจคือทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ

ว่าก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล, เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ

ว่าก็อริยสัจคือทุกข์นั้นแล, เรากำหนดรู้ได้แล้ว, ดังนี้

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ

ว่าก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล, เป็นสิ่งที่ควรละเสีย, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ

ว่าก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล, เราละได้แล้ว, ดังนี้

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ

ว่าก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ

ว่าก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เราทำให้แจ้งได้แล้ว, ดังนี้

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญานัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, เป็นอย่างนี้อย่างนี้, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ

ว่าก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี, ดังนี้

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ

ว่าก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล, เราทำให้เกิดมีได้แล้ว, ดังนี้

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง, มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสองเช่นนั้น, ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้, ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เราอยู่เพียงใด

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ตลอดการเพียงนั้น, เรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดา และมนุษย์

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อใด, ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง, มีปริวัฏฏ์สามมีอาการสิบสองเช่นนั้น, ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้, เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก, สัสสะมะณะพราหมมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, เมื่อนั้น, เราปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอะนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์

ญาณัญจะ ปะนะ เม ภิกขะเว ทัสสะนัง อุทะปาทิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ก็ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

อะกุปปา เม วิมุตติ

ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ

อะยะมันติมา ชาติ

ความเกิดนี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย

นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ

บัดนี้ความเกิดอีกย่อมไม่มี, ดังนี้

เล่น/หยุด